Translate

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

น้ำเอ๋ย! น้ำพริก..





" สวัสดีคะผู้ชม Blogger ทุกท่าน และเราก็กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ (: 
วันนี้ฟ่อนจะพาทุกคนไปล้วงลึกถึงอาหารที่เป็นสำหรับคู่บ้านคู่เมืองของเรากันคะ 
ทุกๆคนพร้อมที่จะไปติดตามกับฟ่อนกันหรือยังคะ ? 
อย่ามัวแต่รือรอกันเลย เราตามไปดูกันเลยคะ "





       อาหารที่ดิฉันต้องการจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นอาหารที่คนไทยและคนต่างประเทศนิยมรับประทานกันเป็นอย่างมาก ซึ่งอาหารชนิดนี้เป็นสำรับที่จะต้องมีอยู่ในทุกมื้ออาหาร และเป็นอาหารที่ได้ชื่อว่าเป็นอาหารสุขภาพซึ่งอุดมไปด้วยผักชนิดต่างๆที่ เป็นเครื่องเคียง อาหารชนิดนี้คือ"น้ำพริก" 
          น้ำพริกเป็นอาหารถ้วยเล็กๆ ที่ถูกปรุงขึ้นเพื่อสร้างความอร่อยคู่สำรับของครอบครัวทั่วทุกภาค ในอดีตน้ำพริกสามารถนำเครื่องปรุงต่างๆที่มีอยู่ในช่วงเวลาขณะนั้นมาใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของคนกิน ในถ้วยน้ำพริกเป็นอาหารที่เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว มีเรื่องราววิถีชีวิต วิธีได้มาของพริก กะปิ น้ำปลา เคย หอม กระเทียม รวมไปถึงการหาอยู่หากินของผักต่างๆที่เลือกมาให้เหมาะกับรสน้ำพริก และโอกาสต่างๆที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่คนรุ่น ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

          สรรพคุณสมุนไพรในน้ำพริก เครื่องปรุงสำคัญที่ช่วยทำให้น้ำพริกมีกลิ่น รสชาติดีและกลบกลิ่นคาส คือ สมุนไพร ซึ่งได้แก่ พริก หอม กระเทียม ข่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังป้องกันอาหาร ท้องอืดเฟ้อ ท้องถ่ายและทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี กะทิจากมะพร้าว มีสรรพคุณคือรสมัน หวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก



" เราได้ทราบถึงความเป็นมาของน้ำพริกกันไปแล้ว 
ดิฉันก็นำวิธีการตำ "น้ำพริกกะปิ" มาฝากผู้ชมชาว Blogger ทุกๆคนน่ะคะ "
วิธีการปรุงในครั้งนี้ดิฉันได้ไปร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ 
ชื่อร้าน "พริกหอม" ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุม 83 เขตพระโขนง
ซึ่งเราได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และได้บอกเคล็บลับต่างๆเกี่ยวกับการทำน้ำพริกให้อร่อยจาก
" พี่เล็ก" นางสาวสุชานาถ ช่อผูก หัวหน้าแม่ครัวประจำร้านอาหารพริกหอม



"พี่เล็ก" หัวหน้าแม่ครัวประจำร้านอาหารพริกหอม



 

"น้ำพริกกะปิ"










               เครื่องปรุงและส่วนผสม 
                             
                         1.กะปิอย่างดีเผาไฟ 
                         2.พริกขี้หนู 
                         3.มะอึกสุกหั่นบาง ๆ 
                         4.มะเขือพวง 
                         5.กระเทียมซอย 
                         6.น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ 




เครื่องปรุงและส่วนผสม




             วิธีทำและขั้นตอนการทำ 
                        
                    1.โขลกพริกขี้หนูและกระเทียมให้พอหยาบ 
                    2.ใส่กะปิที่นำไปเผามาโขลกรวมกับพริกขี้หนูและกระเทียม 
                    3.ใส่มะอึกเพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นของความเปรี้ยวที่ได้จากมะอึก 
                    4.จากนั้นให้ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะนาว ตามด้วยชิมรสให้ได้ 3 รส คือ
                       เปรี้ยว เค็ม หวานและเผ็ดเล็กน้อยคนให้เข้ากัน 
                    5.มะเขือพวง หรือพริกขี้หนูที่เหลือให้ทุบเบาๆพอแหลก เพื่อตกแต่งหน้าถ้วยน้ำพริก 



น้ำพริกกะปิและผักเครื่องเคียง





          สำหรับเคล็ดลับที่ทำให้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้นสำหรับ น้ำพริกกะปิ ในสมัยก่อนมักจะใช้ครกในการตำเพื่อให้ส่วนผสมข้างต้นมีลักษณะที่ไม่ละเอียด จนเกินไปและแฝงรสชาติที่ได้จากการตำด้วยครก ได้ดีกว่าเครื่องปั่นในปัจจุบัน นอกจากนั้นเราจำเป็นต้องใช้กะปิอย่างดี หอม และไม่หืน กระเทียมที่ใช้ควรเลือกเป็นเป็นกระเทียมกลีบเล็ก เพราะจะมีกลิ่นหอมกว่ากระเทียมเม็ดใหญ่ พริกขี้หนูก็เช่นเดียวกันควรเป็นพริกขี้หนูเม็ดเล็ก ก่อนจะลงมือตำให้เอาใบตองมาห่อกะปิไปปิ้งให้หอมจากนั้นเอาไปตำ ถ้าอยากให้น้ำพริกดูมีเนื้อข้นมากขึ้น แนะนำให้ใส่กุ้งแห้งลงไปตำด้วย




คนสมัยโบราณมักจะใช้ "ครกหิน" ในการตำน้ำพริก


          เวลารับประทานให้รับประทานร่วมกับข้าวสวยร้อนๆ ปลาทูนึ่งทอด ปลาทอดอื่นๆ หรือกับผักต้มราดกะทิ เช่น หน่อไม้ ถั่วพู ถั่วผักยาว ผักกระเฉด ตำลึง ฯลฯ หรือผักสดผักลวกต่างๆ เช่น มะเขือสด ผักบุ้ง แตงกวา กระถิน หรือผักชุบไข่ทอด เช่น มะเขือยาว ชะอม เป็นต้น



  
        
           น้ำพริกกะปิ ข้าวสวย ปลาทู "แซ่บแท้ๆ"




ชะอมชุบไข่ คู่กับน้ำพริกก็อร่อยนะคะ 

" ขอให้ชาว Blogger ทุกคนอิ่มอร่อยกับอาหารประจำชาติไทยของเรากันน่ะคะ 
รับรองว่าทุกคนจะไม่ผิดหวังแน่นอนคะ "




Creative Commons License
Thaifoodonly by Chanaporn.m is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.

อาหารไทย... ไม่แพ้ชาติใดในโลก

        



"สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับชาว Blogger ทุกคนนะคะ
วันนี้ดิฉันนำความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยมานำเสนอให้ทุกๆท่านได้ติดตามชมกันคะ"




          อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา
          ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีความพิเศษตามภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตกต่างกันตลอดทั้งปี รวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือด จึงสามารถแสดงออกทางศิลปะในรูปแบบการปรุงแต่งและการรับประทานได้ดี อาหารไทยมีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น ให้กลมกล่อมอร่อยและให้มีรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ 




การปรุงอาหารของคนไทยสมัยโบราณ



          อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีความเป็นมาที่ช้านาน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ทั้งคนในประเทศและต่างประเทศ ก็ชื่นชอบในอาหารไทยกันมาก โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและความจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมาหลายร้อยปี
          อาหารไทยมีวิธีการประกอบอาหารหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็นแกง ต้ม ผัด ยำ นอกจากนั้นอาหารไทยยังได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหาร ตั้งแต่อดีต เช่น การนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย อาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
          อาหารไทยเป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่าง รสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสชาติเฉพาะตัว เกิดจากการใช้เครื่องปรุงรสที่ไม่เหมือนกัน การทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์มาก ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีตและมีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทานตามรูปแบบของรสชาติอาหารไทย




ความพิถีพิถันของอาหารไทย



          ความนิยมอาหารไทยอาจเกิดจากสมัยแรกๆที่คนไทยที่ไปทำงาน และเรียนอยู่ในสหรัฐอเมริกามีความคิดถึงอาหารไทย ก็มีคนเปิดร้านอาหารไทยขึ้น หรืออาจเกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ หรือกระแสแนวโน้มของการตื่นตัวในการบริโภคอาหารชนชาติทั่วโลกก็เป็นได้ แต่ที่เห็นได้ชัดเจน คือ อาหารไทยได้รับความนิยม แบบดาวรุ่งพุ่งแรงมาตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เอกลักษณ์ของอาหารไทยที่ทำให้อาหารไทยเป็นที่ถูกปากและได้รับการยอมรับ

          1. เอกลักษณ์ด้านรสชาติ ที่มีความกลมกล่อมของ 3 รส คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ด ได้อย่างลงตัวพอดี โดยไม่เน้นหนักไปรสใด รสหนึ่ง ทำให้เมื่อเข้าปากแล้ว สามารถดึงเอารสชาติที่สัมผัสลิ้นได้ อย่างเต็มที่ เป็นความรู้สึกที่ยากจะบรรยาย แต่ได้สร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคทุกคนแม้เมื่อได้ลิ้มลองเป็นครั้งแรก ทำให้รู้สึกอยากกลับมาทานอีก กลิ่นของสมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ ของอาหารไทย ถือว่าโดดเด่นมาก ตรงที่ไม่ฉุนเกินไป แต่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของเครื่องเทศที่สอดแทรก อยู่ในทุกอณูของอาหารและทิ้งความหอมละมุนของกลิ่นรสไว้ในปากแม้เมื่อกลืนกินเข้าไปแล้ว


"ต้มยำกุ้ง" รสชาติอาหารไทยที่รสชาติติดปากคนทั่วโลก


          2. ความหลากหลายของอาหารไทย อาหารไทยนั้นมีทั้งคาวหวาน สารพัดชนิด ที่สามารถเลือกสรรมานำเสนอได้ไม่รู้จบ ชาวต่างชาติมักจะบอกว่า นี่เองที่ทำให้พวกเขาอยากลิ้มลองและทดลองร้านอาหารไทยใหม่ๆ ที่เปิดขึ้น เพราะรู้ว่าจะมีสิ่งแปลกใหม่ที่ให้ลองได้ไม่ซ้ำ 

          3. อาหารไทยทานไม่เลี่ยนไม่อ้วน ชาวต่างชาติหลายรายที่ถูกสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกมักออกปากว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่เบาแม้ทานจนอิ่มแล้วยังไม่รู้สึกว่าอึดอัด หรือเพิ่มส่วนเกิน ทั้งนี้เพราะอาหารไทยส่วนใหญ่จะมีผักปนมาด้วยเสมอ พร้อมกับเครื่องเคียงต่างๆ จนเป็นที่เลื่องลือว่าอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ 



อาหารไทยที่อุดมไปด้วยพืชผักนานาชนิด


          4. การบริการที่ประทับใจ ข้อนี้แม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรสชาติอาหาร แต่ถือว่าเป็นส่วนเสริมที่สำคัญมาก เพราะธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจการบริการพร้อมสินค้าอาหาร หากการบริการไม่ดีแล้ว แม้อาหารจะอร่อย ราคาถูก ก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ กิตติศัพท์ของความนุ่มนวลและมารยาทอันดีงามของคนไทย ได้ช่วยสร้างความประทับใจในการบริการของร้านอาหารไทยต่างๆ


การไหว้ การยิ้มแย้ม เป็นเอกลักษณ์การบริการของคนไทย



---> นี่คือความเป็นมาของอาหารไทยที่มีลักษณะโดดเด่นและสามารถสร้างชื่อเสียงในต่างชาติมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ มาติดตามบล๊อกเกอร์ของดิฉันกันต่อไปนะว่า 
" ดิฉันจะแนะนำให้ทุกคนรู้จักอาหารไทยประเภทที่ได้รับความนิยมจากต่างชาติ " <---




"ฟ่อน" ยินดีต้อนรับค่ะ


ชื่อ : นางสาวชนาพร  มหาศรี
รหัส : 5502254
วิชา : COM226  กลุ่ม : 05

Creative Commons License
Thaifoodonly by Chanaporn.m is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Unported License.